9.18.2556

เราคือ "เทคโนฯ"


เอกอะไรจัดงานนะ อยู่นวัตกรรมหรอ?” คำถามประโยคนี้ได้ฟังมาตลอด 2 วัน
          ถ้าหากใครเดินผ่านที่ผ่านมาตึก 400 ล้าน เชื่อว่าคงจะเห็น นิทรรศการหนึ่งอย่างแน่นอน นั่นก็คือนิทรรศการ “Techno Showcase ก้าวล้ำนำการศึกษา” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1516 สิงหาคม 2556 โดยนิสิตชั้นปีที่ 4 เอกเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ที่บริเวณ อาคารนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี หรือที่เราชาวมศว เรียกกันว่า ตึก 400 ล้าน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



        ในฐานะผู้จัดนิทรรศการ ต้องขอบอกก่อนเลยว่า ไม่คิดว่าจะมีคนให้ความสนใจมากขนาดนี้ ไม่คิดว่าจะมีคนงานนิทรรศการของเราขนาดนี้ แต่พอเห็นคนที่มา มันทำรู้สึกเลยว่า “หายเหนื่อย”



       วันจัดงานพลอยมีหน้าที่เป็นฝ่ายลงทะเบียน แล้วก็มีเอ็มที่จะมาคอยเช็คแสตมป์ของผู้ร่วมงานว่าทำถูกต้องตามกติกาที่ได้อธิบายไปไหม คือทุกคนที่มาร่วมงาน ก็จะต้องมาลงทะเบียนกันก่อน ซึ่งวันที่จัดงาน คนเยอะมากๆ ผู้ร่วมงานจะเข้ามางานตลอดๆ และงานวัดแรกก็ดันตรงกับวันที่มีตลาดนัด อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนมาร่วมงานเยอะ โดยรวมสองวันแล้ว มีคนมาร่วมงานประมาณ 1 พันคน เวลาสองวันที่จัดงานตรงโต๊ะลงทะเบียนจะเห็นได้ว่าไม่มีเวลาไหนว่างเลย ไม่มีเวลาแม้แต่จะทานข้าว แต่ว่าก็มีเพื่อนใจดี ซื้อข้าวมาให้แล้วก็มารับลงทะเบียนแทน เพื่อให้พลอยกับเอ็มได้ทานข้าว ที่จริงรับลงทะเบียนก็ไม่ได้เหนื่อย หรือ หนักอะไร พลอยกลับสนุกด้วยซ้ำ ที่เราได้คอยตอบคำถามของคนที่มาร่วมงาน ได้โปรโมทเอกของเราด้วย อย่างคำถามยอดฮิตก็คือ เอกอะไรจัดงานนะ อยู่นวัตกรรมหรอ?” คนที่มาร่วมงานส่วนใหญ่มักจะถามคำถามนี้ และพลอยก็ตอบไปอย่างภาคภูมิใจว่า “เราคือ เอกเทคโนฯ” อยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ ไม่ใช่ นวัตกรรม

          
           ต้องบอกก่อนว่าวันจัดงาน พลอยแทบไม่ได้จะลุกไปจากโต๊ะลงทะเบียนเลย แต่ก็พอรู้รายละเอียดของงาน ก็คือ จากที่ประชุมกัน ได้ข้อสรุปว่า ภายในงานจะมีบูธนิทรรศการแบ่งออกเป็น 8 บูธ โดยจะมี 6 บูธที่อยู่ใต้ตึก และอีก 2 บูธ จะอยู่ภายในตัวอาคาร ได้แก่

          1. DO YOU HEAR ME?  เป็นบูธที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดรายการวิทยุเพื่อการศึกษา
 DO YOU HEAR ME? 
          2. TECH FOR TEACH เป็นบูธที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสื่อการเรียนการสอน
TECH FOR TEACH
          3. READ ME PLEASE เป็นบูธที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์และแสดงผลงานนิสิต
READ ME PLEASE
          4. X- PLORING TECH FOR FUN เป็นบูธที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเกมการศึกษา
X- PLORING TECH FOR FUN
          5. AROUND THE WORLD เป็นบูธที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโซเชียลมีเดียกับการศึกษา
AROUND THE WORLD
          6. AWAY SO FAR เป็นบูธที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนทางไกล
AWAY SO FAR
          7. SEE SNAP เป็นบูธที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพและแสดงผลงานนิสิต
SEE SNAP
          8. NOW YOU SEE ME เป็นบูธที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
NOW YOU SEE ME
          โดยแต่ละบูธก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน และจะให้ความรู้ในจุดเด่นของบูธตัวเอง โดยทุกบูธจะมีโปสเตอร์ ที่ผู้เข้าชมสามารถอ่านความรู้เหล่านั้นด้วยตัวเอง มีพื้นที่แสดงผลงานของนิสิตจากเอกเทคโนฯ มีเจ้าหน้าที่ประจำบูธที่จะคอยให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมงาน และยังมีกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมทำกิจกรรม เพื่อเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ ยกตัวอย่างเช่น บูธ READ ME PLEASE ก็จะมีกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมงานทำเวิร์คช็อป เกี่ยวกับการออกแบบหน้าปกนิตยสาร ซึ่งก็นำความรู้จากโปสเตอร์และความรู้จากสิ่งที่เจ้าหน้าที่ประจำบูธได้ให้ความรู้ไป นำไปออกแบบหน้าปกนิตยสาร ซึ่งเป็นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จริง

กิจกรรมเวิร์คช็อป ออกแบบหน้าปกนิตยสาร
          การจัดงานอะไรสักงานหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นงานอะไร ก็ต้องมีการวางแผน มีการเตรียมการล่วงหน้า ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องคิด ต้องช่วยกันให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ การจัดนิทรรศการครั้งนี้ ทำให้พลอยได้ประสบการณ์ที่ดี ได้สิ่งที่มีมากกว่าในห้องเรียน คือ ได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากในห้องเรียน และการที่เราได้ลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เราพบกับปัญหาจริง และต้องแก้ปัญหานั้นให้ได้ และการจัดครั้งนี้ ทำให้พลอยได้ฝึกทักษะการพูด ต้องบอกก่อนว่า ปกติเป็นคนพูดน้อย หรือว่าไม่ค่อยพูดกับคนที่ไม่สนิจ แต่ในงานนี้ พลอยต้องพูด ต้องอธิบาย และต้องตอบคำถามที่ผู้ร่วมงานถามมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการฝึกทักษะการพูด

         
           สุดท้ายต้องขอขอบคุณอาจารย์นัทธีรัตน์ ที่เป็นทั้งอาจารย์ประจำวิชา เป็นทั้งอาจารย์ที่คอยให้คำปรึกษา ขอบคุณที่ทำให้พลอยได้ประสบการณ์ใหม่ ที่ไม่เคยได้ทำมาก่อนค่ะ J



.... วันนี้ สวัสดี J ....
l l P O N Y P L O Y l l
  



         

9.17.2556

เพราะเราคู่กัน...

          การสื่อสารในปัจจุบัน นับวันยิ่งพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เดี๋ยวนี้แม้ว่าเราจะอยู่ห่างกันคนละซีกโลก เราก็สามารถติดต่อพูดคุยกันได้อย่างสะดวกสบาย ในระยะเวลาอันสั้นราวกับนั่งคุยกันต่อหน้า ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ ทางอีเมล หรือแม้แต่ทาง Social network แต่อย่างไรก็ตามเราทุกคนก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าจดหมายนั้นถือเป็นวิวัฒนาการแรกเริ่มของการสื่อสารทั้งหมดในปัจจุบัน ที่ถึงแม้จะล่าช้าไปซักหน่อย แต่ก็มีหลายคนที่ยังคงใช้การสื่อสารวิธีนี้อยู่ เพราะเสน่ห์ของมันอยู่ที่คุณค่าทางใจ จะเปิดอ่านกี่ครั้งกี่คราวก็ยังคงมีเรื่องราวแห่งความทรงจำที่ทำให้คุณยิ้มได้อยู่เสมอ

          ถ้าพูดถึงจดหมาย สิ่งที่มาคู่กันอย่างขาดไม่ได้ก็คือ “แสตมป์” แสตมป์หรือตราไปรษณียากรจึงถือเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร แม้ในยุคปัจจุบันการสื่อสารของเราอาจจะไม่ต้องพึ่งพาไปรษณีย์มากเหมือนเดิมก็ตาม วันนี้จะพามารู้จักกับ สถานที่ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับสแตมป์ นั่นก็คือ "พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน" ตั้งอยู่ในชั้นสองของอาคาร ไปรษณีย์สามเสนใน ด้านหลังที่ทำการไปรษณีย์สามเสนใน เป็นสถานที่สำคัญในการรวบรวมประวัติความเป็นมาของการไปรษณีย์ไทยและ แสตมป์ยุคเริ่มแรก ตั้งแต่การก่อกำเนิดแสตมป์ดวงแรกของโลกที่ประเทศอังกฤษ และการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย


          ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงดวงตราไปรษณียากรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5พ.ศ. 2426 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีถึงกว่า 800 ชุด ถ้าใครหลงใหลแสตมป์และอยากจะเห็นทุกดวงก็ดูกันได้อย่างใกล้ชิด แสตมป์ถูกจัดเก็บอยู่ในตู้กระจกแบบพิเศษที่ทำเป็นคล้ายหน้าต่างหลายๆ บานซ้อนกันอยู่ และเรียงลำดับตามปีพุทธศักราช ใครอยากดูปีไหนชุดไหน ก็กดไปที่หน้าต่างแล้วดึงออกมา วิธีใช้ดูได้ที่หน้าตู้ 


แสตมป์ในตู้ที่สามารถกดเปิดออกมาดูได้  
          ในตู้แสดงแสตมป์เหล่านี้ไม่ได้มีเพียงแสตมป์ไทยเท่านั้น แต่ยังรวบรวมแสตมป์จากทั่วโลกกว่า 200 ประเทศที่เข้าร่วมสหภาพสากลไปรษณีย์ (The Symbol of Universal Union) ประเทศที่เข้าร่วมสหภาพนี้ก็จะจัดส่งแสตมป์ชุดใหม่ๆ จากประเทศตัวเองมาแลกเปลี่ยนกันทุกปี ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีรูปแบบและสีสันของแสตมป์แตกต่างกันไป อย่างที่บอกไว้ในข้างต้นว่านอกจากแสตมป์จะทำหน้าที่หลักเป็นสิ่งแทนค่าเงิน ในการขนส่งแล้ว แสตมป์จากประเทศต่างๆ ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนวัฒนธรรมประเพณี และประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศโดยเล่าผ่านพื้นที่เล็กๆ เหล่านี้อีกด้วย




          ภายในพิพิธภัณฑ์ยังมีการจัด นิทรรศการหมุนเวียนที่จะเปลี่ยนเรื่องราวไปตามวันสำคัญต่างๆ และมีแสตมป์ชุดพิเศษสำหรับโอกาสนั้นๆ มาแสดง ช่วงที่พลอยไปนั้น เป็นการจัดแสดงนิทรรศการ เรื่อง สามศิลป์ไม่กินกัน สามศิลป์ไม่กินกัน ก็คืองานศิลปะ 3 แขนงได้แก่ งานศิลป์ช่างหลวง งานศิลป์พื้นบ้าน งานศิลป์ร่วมสมัย

นิทรรศการหมุนเวียน

         ใครที่สนใจสามารถเดินทางไปยัง พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร (สามเสนใน ตั้งอยู่ที่อาคารสำนักงานการสื่อสารไปรษณีย์นครหลวงเหนือ หลังที่ทำการไปรษณีย์สามเสนใน ถ.พหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2271-2439, 0-2831-3722 เปิดวันพุธ - อาทิตย์ หยุดวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่าง 08.30-16.30 น. และที่สำคัญ "ไม่เก็บค่าเข้าชม" ฟรี ฟรี ฟรี จร้าาาาาาาา  

แผนที่พิพิธภัณฑ์  

สมาชิกผู้ร่วมเดินทางครั้งนี้ เอ็ม แก๊ป พลอย เนส ส้ม :D  



.... วันนี้ สวัสดี J ....
l l P O N Y P L O Y l l



เพียง... ปลายนิ้วคลิก


           ลองคิดดูว่า โลกที่มีเทคโนโลยีจะสะดวกสบายแค่ไหน? อย่างเช่นโลกในปัจจุบันนี้ ที่ไม่ว่าคุณคิดจะทำอะไรก็ง่ายแสนง่าย แสนสะดวก แสนสบายไปหมด
          “เทคโนโลยี” พลอยเชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักกับชื่อนี้ เทคโนโลยี คือสิ่งสามารถย่อโลกใบใหญ่ๆ ให้แคบลง หรือเล็กลงได้ เพียงแค่เราใช้อินเทอร์เน็ต กับ เทคโนโลยีสักชิ้น ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ทโฟน เพียงแค่ปลายนิ้วคลิก เราก็สามารถท่องไปยังโลกกว้างได้
           วันนี้ พลอย ก็จะพาทุกคน ท่องไปยังโลกกว้าง ด้วยการ พาทุกคนไปชม “นิทรรศการออนไลน์” แต่ก่อนที่เราจะไปชมนิทรรศการกัน เราไปรู้จักความหมายของ “นิทรรศการออนไลน์” กันก่อนนะ
          นิทรรศการออนไลน์คือ การจำลอง หรือจัดแสดง เนื้อหาสาระหรือความรู้ในรูปแบบนิทรรศการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำว่าต้องการจะนำเสนอเนื้อหาสาระใด ในการนำเสนอนั้น มีวิธีการ คือ จัดเก็บองค์ประกอบของเนื้อหาเป็น ข้อความ ภาพ หรือเสียง
           นิทรรศการออนไลน์ ที่จะพาไปชมกันวันนี้คือเรื่อง พัฒนาการของการพิมพ์ ซึ่งจัดทำขึ้นโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ((((()(อพวช. หรือ NSM) ในนิทรรศการจะกล่าวถึงระบบการพิมพ์ตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะมีระบบการพิมพ์อยู่ 7 แบบคือ 
  • ระบบการพิมพ์พื้นนูน
ระบบการพิมพ์พื้นนูน
  • ระบบการพิมพ์พื้นราบ
ระบบการพิมพ์พื้นราบ
  • ระบบการพิมพ์พื้นลึก
ระบบการพิมพ์พื้นลึก
  • ระบบการพิมพ์พื้นฉลุ
ระบบการพิมพ์พื้นฉลุ
  • ระบบการพิมพ์พื้นอิงค์เจ็ต
ระบบการพิมพ์พื้นอิงค์เจ็ต
  • ระบบการพิมพ์ Thermal
ระบบการพิมพ์ Thermal
  • ระบบการพิมพ์พื้น Thermal Day Sublimation 
ระบบการพิมพ์พื้น Thermal Day Sublimation 

          พลอยเลือกนิทรรศการออนไลน์นี้มาให้ทุกคนได้ชมกันเพราะว่า นิทรรศการออนไลน์นี้ มีรูปแบบสื่อที่ มีเนื้อหาพร้อมรูปภาพประกอบ อีกทั้งยังมีเสียงบรรยายเกี่ยวกับเนื้อหา ซึ่งให้ผู้ชมสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และถ้าใครสนใจ ก็สามารถเข้าไปชม นิทรรศการออนไลน์ เรื่อง พัฒนาการของการพิมพ์ ได้ที่ http://www.nsm.or.th/nsm2008/E-exhibition/Printing/index.html

          เห็นแล้วใช่ไหม ว่าการที่เรามีเทคโนโลยี ทำให้สะดวกสบายจริงๆ เราไม่จำเป็นต้องไปยังสถานที่จริง ซึ่งการเดินทางก็ เพราะการเดินทางไปยังสถานที่จริง อาจเกิดอุปสรรค์ในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น สภาพอากาศ การจราจร หรือปัจจัยที่ทำให้เราไม่ได้รับความสะดวก “นิทรรศการออนไลน์” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่เราสามารถหาความรู้ได้ “เพียงปลายนิ้วคลิก”

          ถ้าหากเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช. หรือ NSM) สามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซค์ http://www.nsm.or.th/ หรือถ้าใครอยากที่จะลองไปยังสถานที่จริง ก็สามารถเดินทางไปได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช. หรือ NSM) ตั้งอยู่ที่เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี


แผนที่พิพิธภัณฑ์ 
          เปิดให้บริการวันอังคาร -วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.30 - 16.00 น.
          วันเสาร์ - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.30 - 17.00 น. (หยุดวันจันทร์)




.... วันนี้ สวัสดี J ....
l l P O N Y P L O Y l l